ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 67

ว่าด้วยการละ ๕ อย่าง

ชื่อว่าปหานะ ในบทนี้ว่า ปชหถ นี้ มี ๕ อย่าง คือ ตทังคปหาน ๑

วิกขัมภนปหาน ๑ สมุจเฉทปหาน ๑ ปฏิปัสสัทธิปหาน ๑ นิสสรณ-

ปหาน ๑ ในปหานะ ๕ อย่างนั้น การละความโลภเป็นต้น ด้วยความไม่โลภ

เป็นต้น การละสิ่งไม่มีประโยชน์นั้นๆ ด้วยวิปัสสนาญาณ มีการกำหนดนามรูป

เป็นต้น เพราะเป็นปฎิปักษ์กัน เหมือนการกำจัดความมืดด้วยแสงประทีป

ฉะนั้น เช่นการละมลทินมีโลภเป็นต้นด้วยการบริจาค การละทุศีลมีปาณาติบาต

เป็นต้นด้วยศีล การละความไม่มีศรัทธาเป็นต้น ด้วยศรัทธา การละสักกายทิฏฐิ

ด้วยกำหนดนามรูป การละทิฏฐิอันเป็นอเหตุกะและวิสมเหตุ ด้วยการกำหนด

ปัจจัย การละความสงสัยด้วยการข้ามพ้นความสงสัยส่วนอื่นๆ นั้นเสียได้ การ

ละความถือมั่นว่าเราของเรา ด้วยพิจารณาเห็นเป็นกลาปะ (กอง) การละความ

เห็นในสิ่งที่ไม่เป็นมรรคว่าเป็นมรรค ด้วยกำหนดมรรคและอมรรค การละ

อุจเฉททิฏฐิ ด้วยการเห็นความเกิด การละสัสสตทิฏฐิด้วยเห็นความเสื่อม การละ

ความสำคัญในสิ่งที่เป็นภัยว่าไม่เป็นภัย ด้วยการเห็นภัย การละความสำคัญใน

สิ่งที่ชอบใจ ด้วยการเห็นโทษ การละความสำคัญ ในสิ่งที่น่าอภิรมย์ ด้วยการ

พิจารณาถึงความเบื่อหน่าย การละความที่ไม่อยากหลุดพ้น ด้วยญาณ คือ ความ

อยากพ้น การละความไม่วางเฉย ด้วยอุเบกขาญาณ การละธรรมฐิติ ด้วย

อนุโลม การละความเป็นปฏิโลม ด้วยนิพพาน การละความเป็นสังขารนิมิต

ด้วยโคตรภู การละนี้ชื่อว่า ตทังคปหาน (การละชั่วคราว).

การละธรรมมีนิวรณ์เป็นต้น เหล่านั้น ๆ ด้วยอุปจาระและอัปปนาสมาธิ

เหมือนการกำจัด สาหร่ายที่หลังน้ำ ด้วยการทุ่มหม้อน้ำลงไป เพราะห้ามความ

เป็นไป การละนี้ชื่อว่า วิกขัมภนปหาน (การละด้วยการข่มไว้).

การตัดขาดกองกิเลส อันเป็นฝ่ายที่จะให้ตัณหาเกิด ซึ่งท่านกล่าวไว้

โดยนัยเป็นต้นว่า จตุนฺนํ อริยมคฺคานํ ภาวิตฺตา ตํตํมคฺควโต อตฺตโน

สนฺตาเน ทิฏฺฐิคตานํ ปหานาย เพื่อละทิฏฐิในสันดานของตนผู้มีมรรค

นั้น ๆ เพราะเจริญอริยมรรค ๔ ได้แล้ว การละนี้ชื่อว่า สมุจเฉทปหาน

(ละได้เด็ดขาด).

การละกิเลสทั้งหลาย อันเป็นความสงบในขณะแห่งผล การละนี้ชื่อว่า

ปฏิปัสสัทธิปหาน (ละด้วยความสงบกิเลส). การดับที่ละเครื่องปรุงแต่ง

ทั้งหมดได้แล้ว เพราะสลัดเครื่องปรุงแต่งทั้งหมดได้ นี้ ชื่อว่า นิสสรณปหาน

(การละด้วยการสลัดออก). ในสูตรนี้พึงทราบว่า ได้แก่ สมฺจเฉทปหาน

เพราะท่านประสงค์เอาการละที่ทำให้เป็นพระอนาคามี ด้วยการละ ๕ อย่าง ด้วย

ประการฉะนี้. เพราะฉะนั้น บทว่า ปชหถ จึงมีความว่า เธอทั้งหลายจงสละ

จงตัดขาดดังนี้.